ประวัติความเป็นมา


ประวัติความเป็นมา

          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการพัฒนาควบคู่กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในระยะแรกเริ่มยังมิได้แยกเป็นคณะวิชาคณาจารย์สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รับผิดชอบการสอนรายวิชาต่างๆที่เป็นส่วนสำคัญของหลักสูตรการศึกษาในปี พ.ศ.2518 มีพระราชบัญญัติ ให้วิทยาลัยครูทุกแห่งเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาจึงได้มีการก่อตั้ง“คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” โดยได้เปิดสอนในระดับอนุปริญญาระดับปริญญาตรี 4 ปีและปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา)สาขาการศึกษา  มีวิชาเอก 3 วิชาคือภาษาไทยภาษาอังกฤษสังคมศึกษาหลังจากนั้นในปี พ.ศ.2527 มีการพัฒนาหลักสูตร  และเปิดสอนหลักสูตรศิลปะศาสตร์เมื่อ พ.ศ.2535“คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” เปลี่ยนเป็น  “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”  ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏและตำแหน่ง“หัวหน้าคณะ” เปลี่ยนเป็น“คณบดี” โดยมีภาควิชาในกำกับดูแล 11 ภาควิชาต่อมาในปี พ.ศ.2542 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชาตามหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตจำนวน 11 โปรแกรมวิชาและในปี พ.ศ.2543โปรแกรมวิชาศิลปกรรมโปรแกรมวิชานาฏศิลป์โปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการละครและโปรแกรมดนตรีแยกไปตั้งเป็น  คณะศิลปกรรมศาสตร์คณะฯจึงมีโปรแกรมที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี4 ปีสาขาการศึกษาและสาขาศิลปศาสตร์รวม 7 โปรแกรมวิชา

         เนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศมากขึ้น  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางคณะได้เปิดสอนวิชาภาษาญี่ปุ่นภาษาฝรั่งเศส  และภาษาจีนเป็นวิชาเลือกของโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยววิชาเลือกเสรีของโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจและโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษซึ่งมีนักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีในปีการศึกษา 2545คณะฯจึงได้จัดทำศักยภาพของโปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่นและโปรแกรมวิชาภาษาจีนซึ่งประกอบด้วย  หลักสูตรแผนการเรียนอาจารย์ผู้สอนสื่อการสอนแหล่งวิทยาการแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยเปิดสอน “โปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่น” และ“โปรแกรมวิชาภาษาจีน”ในระดับปริญญาตรี 4 ปีในปีการศึกษา 2546  นอกจากนี้คณะฯได้รับความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน(Yunnan Normal University) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในการจัดตั้งศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน (Chinese Language and Culture Center) โดยทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่10 มิถุนายน 2545 และได้เปิดอบรมหลักสูตรภาษาจีนให้กับคณาจารย์และประชาชนผู้สนใจรวมทั้งให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการจัดการเรียน  การสอน“โปรแกรมวิชาภาษาจีน” ระดับปริญญาตรี  4  ปีต่อมา  ในปีการศึกษา 2546  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน  (Joint Venture 2+2 Bachelor’s Degree Program)ทั้งนี้นักศึกษาจะเรียนที่มหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน  2 ปีและอีก 2 ปีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยนักศึกษาชาวจีนดังกล่าวจะเริ่มเรียนที่สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2548  เป็นต้นไป อนึ่งในปีการศึกษา 2547 คณะได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรและเปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปีได้แก่สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรมในปีการศึกษา 2548 ได้เปิดการเรียนการสอนอีก 2 สาขาวิชาคือสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พักสาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ  และในปีการศึกษา 2550 ได้จัดทำหลักสูตรใหม่อีก 2 สาขาวิชาคือสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม  และสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศโดยสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคมได้เปิดรับนักศึกษาในภาคเรียนที่ 1 / 2550 และสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศเริ่มเปิดรับนักศึกษาในภาคเรียนที่ 1 / 2551  และปีการศึกษา 2554 คณะได้เปิดสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปให้กับนักศึกษาของคณะต่างๆรวมทั้งสอนในรายวิชาเอก / วิชาเฉพาะให้กับนักศึกษาของคณะรวมทั้งสิ้น 13  สาขาวิชา

ระดับปริญญาตรี
         1.  สาขาวิชาภาษาไทย
         2. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
         3. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
         4. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
         5. สาขาวิชาภาษาจีน
         6. กลุ่มวิชารัฐประศาสนศาสตร์
         7. สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
         8. สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
         9. สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
         10. กลุ่มวิชาการจัดการสังคมและวัฒนธรรม
         11. กลุ่มวิชาสารสนเทศศาสตร์
         12. สาขาวิชานิติศาสตร์
         13. สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ

          แต่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปัจจุบันสภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางแข่งขัน กันมากขึ้นดังนั้นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงต้องพัฒนาด้านการเรียนการ สอนเพื่อก้าวให้ทันโลกและให้มีศักยภาพด้านบริการการศึกษาในระดับมาตรฐานให้ เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาประเทศ....